วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความอยาก VS. จุดเจ็บปวดรวดร้าว



การเริ่มต้นธุรกิจของคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าหมายไปที่ ความรวย โดยมีต้นแบบจากหนังสือที่วางขายในร้านหนังสือเกือบแทบทุกเล่มก็จะเขียนคำว่า "รวย" "มั่งคั่ง" หรือการมองคนที่ประสบความสำเร็จเป็นไอดอลและคิดว่าตัวเองต้องทำได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้งลืมไปว่า ระยะทางที่จะไปถึงจุดหมายมันไม่ได้สั้นอย่างที่คิด หรือการเดินทางจะราบรื่น ราบเรียบเสมอไป จุดเริ่มในการทำอะไรก็แล้วแต่ควรเริ่มจาก Passion หรือจะเรียกว่าแรงบันดาลใจ เพราะแรงบันดาลใจจะเป็นตัวบอกถึงความชอบ ลุ่มหลงในสิ่งนั้น ไม่ใช่ไปตามกระแสแล้วเราก็ไม่รู้จักในธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นอย่างเพียงพอ

หลังจากมีแรงบันดาลใจแล้วก็ต้องมาดู "ตลาด" หรือจะเรียกว่า ผู้บริโภคก็ได้ว่า เราจะตอบสนองอะไร เค้ามีความอยาก เค้ามีจุดเจ็บปวดรวดร้าวอะไรที่เราควรบรรเทาสิ่งเหล่านั้นหรือทำให้ความเจ็บปวดนั้นหายไป

ถ้าใครเรียนด้านการตลาดมาก็จะทราบกันดีว่า แนวคิดการตลาดในยุคแรกๆ เจ้าของผลิตภัณฑ์และนักการตลาดมักจะโฟกัสไปที่ ผลิตภัณฑ์ หรือ Product-oriented Concept นักการตลาดก็พยายามให้ความสำคัญกับการประดิษฐ์คิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดโดยยังไม่ได้เริ่มต้นแคร์หรือสนใจผู้บริโภค จึงทำให้การตลาดในยุคนั้นอยู่ในภาวะที่ ศาสตราจารย์ธีโอดอร์ เลวิตต์ ได้เขียนบทความที่ชื่อว่า Marketing Myopia หรือการมองตลาดในระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่ยุคสมัยเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน สิ่งที่เคยรุ่งเรืองในอดีตอาจจะไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ ถ้านักการตลาดมัวเสียเวลาหลงไปพัฒนาสิ่งนั้น เมื่อพัฒนาเสร็จ ลูกค้าก็ไม่ได้ต้องการสิ่งนั้นแล้วเพราะมีสิ่งที่ดีกว่าทางเลือกที่ดีกว่า สุดท้ายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เรารักนักรักหนาก็ขายไม่ได้ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราจะพบเห็นธุรกิจที่ถูกแทนที่ เช่น กล้องดิจิทัล โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มาแทนที่กล้องฟิล์มและธุรกิจฟิล์มก็หายไป  หลายแบรนด์จากไปอย่างไม่มีวันกลับ หลายแบรนด์ปรับตัวทันและไปต่อได้

เมื่อพูดถึงการแทนที่ของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ทำให้นึกถึงกรณีของโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย เมื่อ 25-30 ปีที่แล้ว (ใครเกิดทันยกมือขึ้น) มีโรงภาพยนตร์แบบ Stand Alone หรือโรงภาพยนตร์ที่ตั้งตระหง่านแบบโดดๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงหนังเอเธนส์ โรงหนังแมคเคนน่า ถ้ามีให้เห็นในปัจจุบันก็คงจะเป็น โรงหนังสกาล่า ต่อมาวิถีชิวิตของผู้บริโภคเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน คนไม่ได้ต้องการไปโรงหนังที่ตั้งอยู่โดดๆ อีกต่อไปเพราะดูหนังเสร็จแล้วก็กลับไม่ใช่ไลฟ์สไตล์
ขอขอบคุณภาพจาก คุณ js101 จาก pantip.com

ขอขอบคุณภาพจาก https://pantip.com/topic/34115234
ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นในธุรกิจมากเกินไป และเราต้องเป็น "สิ่งนั้น" เท่านั้นอาจจะทำให้เราเข้าสู่ "กับดัก" ทางการตลาด ในยุคต่อมา การตลาดจึงให้ความสำคัญกับ ผู้บริโภค มากขึ้นด้วยการฟังเสียงว่า ผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วคำตอบที่ได้ก็คือ บางทีผู้บริโภคก็ไม่รู้ว่าตัวเขาเองต้องการอะไร นักการตลาดอาจต้องสกัด "ปม" "ความต้องการ" เหล่านั้นออกมาให้เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ บริการที่สามารถตอบสนองผู้บริโภคให้ได้

ในการตอบสนองความต้องการลูกค้าก็มี 2 แนวคิด คือ

แนวคิดที่ 1 สนองตลาด ผู้บริโภคอยากได้อะไร ก็จัดสิ่งนั้นไป การทำแบบนี้ไม่เสี่ยง แต่ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พัฒนาออกมาก็จะไม่มีความแตกต่าง เพราะถ้าแบรนด์ของเราไปสอบถามพูดคุยกับผู้บริโภคได้  แบรนด์อื่นก็ถามได้ สุดท้ายก็อาจจะได้คำตอบคล้ายๆกัน อันนี้ขึ้นกับการถอดรหัสคำตอบจากผู้บริโภค เช่น ค่าย P ไปสอบถามและได้คำตอบจากผู้บริโภคว่า อยากได้แชมพูที่ทำให้ผมสวยเงางาม ค่าย U ก็ไปสอบถามและได้คำตอบเดียวกัน สุดท้ายทั้ง 2 ค่ายก็มีแชมพูที่มีคุณประโยชน์เดียวกัน

แนวคิดที่ 2 ขับเคลื่อนตลาด แนวคิดนี้ฟังดูเหมือนไม่ใส่ใจผู้บริโภค แต่จริงๆแล้วแนวคิดนี้ยังมองในเรื่องการแก้ปัญหาให้ผู้บริโภค เพียงแต่นักการตลาดต้องพยายามสร้าง "นวัตกรรม" หรือผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยไอเดียแปลกใหม่ ล้ำ และช่วยให้ชีวิตผู้บริโภคดีขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในอดีตก็คือ Sony ที่พัฒนารูปแบบการฟังเพลง สามารถฟังเพลงที่ไหนก็ได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Walkman หรือ Apple ที่พัฒนา iPhone ออกมาด้วยการนำ เพลง+อินเทอร์เน็ต+โทรศัพท์ และ Steve Job ก็เคยขับเคลื่อนตลาดซึ่งก็คือผู้บริโภคให้เห็นว่า เราไม่ควรเสียพื้นที่ของโทรศัพท์ไปกับปุ่มกดที่เยอะแยะแล้วเราก็ไม่ได้ใช้มันตลอดเวลา (เป็นคำพูดที่ออกมาฆ่า Blackberry) ปุ่มกดควรจะถูกเรียกมาในเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ และนั่นคือนวัตกรรมของ iPhone รุ่นแรกที่ออกมา
Image result for blackberry iphone vs
เพิ่มคำอธิบายภาพ
การใช้แนวคิดนี้ แบรนด์อาจจะต้องเสียเวลาในการให้ข้อมูล เชิญชวนและโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเห็นดีเห็นงามกับเราก่อน ตลาดจึงจะเกิดขึ้น แนวคิดนี้อาจจะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนาให้แตกต่าง รออย่างเดียวคือ ความแตกต่างนั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้าชอบหรือไม่

Related image
พัดลม Dyson
อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแบรนด์ที่ชื่อว่า Dyson ได้พัฒนาพัดลมไร้ใบพัดออกมา เป็นการฉีกกฎพัดลมแบบเดิมๆ และเน้นเรื่องดีไซน์ให้เป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งที่ตั้งโชว์ในห้อง ในบ้านได้อย่างสวยงาม

ทั้งหลายทั้งปวงถ้าใครอยากทำธุรกิจ อยากสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้วประสบความสำเร็จอาจจะต้องเรียนรู้ผู้บริโภคใน 2 เรื่องเพื่อทำความรู้จักลูกค้าให้ถึงรากถึงโคน

1.ความอยาก เป็นเรื่องของสมองซีกขวาว่าด้วยเรื่องอารมณ์ของมนุษย์ คนเราทุกคนมี "ความอยาก" อยู่ในใจ ความอยากอาจแสดงตัวออกมาต่างกรรมต่างวาระ

  • บางคนอยากผอม ก็เป็นโอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก 
  • บางคนอยากสวย ก็เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจเสริมความงาม ศัลยกรรม เครื่องสำอาง ขึ้นอยู่กับระดับว่าอยากสวยเร็วหรือสวยช้า 
  • บางคนอยากรวย ก็เป็นโอกาสของนักการตลาดที่จะใช้โปรโมชั่นเข้าดึงดูดลูกค้า 
  • บางคนอยากแสดงถึงสถานะทางสังคม ก็เป็นโอกาสของบรรดาแบรนด์หรู รถยนต์ราคาแพง 
  • บางคนอยากมีผิวสวยใส ก็เป็นโอกาสสำหรับครีมทาทุกแห่งหนบนร่างกาย
การหา "ความอยาก" เป็นการเข้าถึงอารมณ์ของผู้บริโภค และโดยส่วนใหญ่คนเรามักจะตัดสินใจซื้อด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล เหตุผลมีไว้เพื่อนำมาสนับสนุนอารมณ์ที่ซื้อไปว่า ฉันซื้อแบรนด์นี้เพราะเหตุผลต่อไปนี้ 

2.จุดเจ็บปวดรวดร้าว ฟังดูเหมือนจะดูน้ำเน่านิดๆ หรือ Pain Point เป็นเรื่องของสมองซีกซ้าย อันนี้คือตัดสินใจซื้อเพราะเราประสบปัญหาบางอย่างแล้วมีผลิตภัณฑ์มาเชิญชวนด้วยเหตุผลของการแก้ไขปัญหาหรือผลิตภัณฑ์นี้จะทำให้ปัญหาของคุณหมดไป 


แบรนด์ GRAB เข้ามาแก้ไขจุดเจ็บปวดรวดร้าวของคนเรียกแท๊กซี่ เมื่อเราเรียกแท๊กซี่แล้วแท๊กซี่ไม่ไปส่งเรา ปฏิเสธเราด้วยเหตุผลซ้ำซากคือ เดี๋ยวส่งรถไม่ทัน  แก๊สหมด ไกล รถติด หรือจะตามมาด้วยเหตุผลวิบัติสารพัด สุดท้าย GRAB ช่วยคลาย "ปมปัญหา" ด้วยการนำคนที่อยากเรียกแท๊กซี่ กับ แท๊กซี่ที่พร้อมรับผู้โดยสารมาเจอกันด้วยแอปพลิเคชัน GRAB ด้วยเทคโนโลยี GPS ที่ทำให้คนเรียกแท๊กซี่ทราบพิกัดว่าแท๊กซี่อยู่ไหน อีกกี่กิโล กี่นาทีจะมาถึง และแท๊กซี่ก็ทราบพิกัดของสถานที่ที่ผู้โดยสารเรียก ในที่สุดก็ Win-win ก็ทั้งสองฝ่าย 

Related image
สเปรย์ระงับอาการนอนกรน จากญี่ปุ่น 
ผลิตภัณฑ์สเปรย์ระงับอาการนอนกรน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาแก้ไขจุดเจ็บปวดรวดร้าวของคนนอนข้างๆ คนนอนกรน รวมถึงคนนอนกรนด้วยที่จะช่วยลดอาการ "รังเกียจ" จากคนรอบข้าง 

Better Butter
งานออกแบบบรรจุภัณฑ์เนยที่ใช้ประโยชน์จากฝาปิดมาเป็นที่ทาเนย
Image result for ิbutter packaging design
เพิ่มคำอธิบายภาพ
งานออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุเนยที่ใช้ประโยชน์จากฝาปิดนำมาเป็นที่ทาเนย เหมาะสำหรับพกพา หรือใช้ในสถานที่ที่อาจจะหาที่ทาเนยลำบาก เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น 


Image result for airbnb

แบรนด์ Airbnb ก็บรรเทาจุดเจ็บปวดรวดร้าวของคนที่ต้องการหาบ้านเช่าที่อาจจะไม่ใช่แนวโรงแรมเพราะความต้องการไปเที่ยวและพักผ่อนระยะยาวตามราคาที่ตัวเองปรารถนา ด้วยการเป็นตัวกลางในการเชื่อมคนที่มีบ้าน ห้อง หรือที่พักแล้วต้องการปล่อยเช่า กับ คนที่อยากไปเที่ยวพักผ่อนและต้องการพักบ้านเป็นหลัง ห้องพักตามสไตล์ที่ต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้ลูกค้าเลือกใช้บริการประสบการณ์ด้านกิจกรรมรูปแบบต่างๆในแต่ละพื้นที่อีกด้วย เช่น บางคนอยากเรียนศิลปะการทำอาหารไทย หรือ

หนึ่งในรูปแบบกิจกรรมที่ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการทำอาหารไทย

จุดเจ็บปวดรวดร้าวของบรรดาแม่บ้านในการขัดห้องน้ำ มักจะใช้เวลานานในการขัดห้องน้ำ เปรียบเสมือนกับการถูกจองจำ (ติดคุก) นักโฆษณาก็เลยสะท้อนผ่านการสร้างสรรค์งานโฆษณาแล้วบอกว่า วิม จะช่วยให้คุณอิสระจากงานที่น่าเบื่อนั้น (ลองดูจากภาพยนตร์โฆษณาด้านล่าง)  


หรือปัญหาของคุณสาวๆที่ใช้หวีแล้วเส้นผมติดกับตัวหวี และอยากจะทำความสะอาดแบบเร็วและง่าย ก็มีผลิตภัณฑ์ Qwik-CleanBrush มาช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า


ตัวอย่างที่ดีที่สุดของการแก้ไขจุดเจ็บปวดรวดร้าว ขอให้ท่านไปดูผลิตภัณฑ์ในร้าน DAISO ที่ออกมาเพื่อช่วยแบ่งเบา บรรเทา และแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า

ก่อนจะทำอะไรออกมาขาย ก่อนจะสร้างสรรค์ธุรกิจบริการที่แปลกใหม่หวือหวา อย่าลืมสอดส่อง "ความอยาก" และ "จุดเจ็บปวดรวดร้าวของลูกค้ากันก่อนนะครับ แล้วท่านจะไม่พลาดการตอบกลับจากลูกค้า

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

ซูชิ 24 ชั่วโมง อยาก(กิน)เมื่อไหร่ก็แวะมา

ร้านที่ให้บริการ 24 ชั่วโมงเป้นการมอบความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการได้ทุกเวลา เลือกเวลาได้ตามอำเภอใจ เรากำลังจะพูดถึงร้านซูชิ 24 ชั่วโมงที่ชื่อว่า  Kizuna Sushi โดยให้บริการทั้งบุฟเฟ่ต์ และ สั่งเป็นรายการไปหรือ A La Carte  ร้านนี้ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงแรม Gracery Shinjuku เปิดตลอด 24 ชั่วโมงอาจจะเป็นเพราะย่านนี้มีความคึกคักทั้งกลางวันและกลางคืน เราจึงเริ่มสำรวจกันตั้งแต่หน้าร้านกันเลย มีรายการอาหารประเภทซูชิให้ดูกันก่อนตัดสินใจ สำหรับราคาบุฟเฟ่ต์มีการแบ่งตามเพศสำหรับผู้ชายคนละ 4,299 เยน ส่วนผู้หญิงคนละ 3,759 เยน (รวมภาษีแล้ว)




อย่ารอช้า เข้าไปจัดการกันเลยครับ สำหรับบรรยากาศในร้านไม่ค่อยอึดอัดเท่าไหร่ในการจัดโต๊ะภายในร้าน ผู้คนในร้านยังมีไม่ค่อยมากอาจเป็นเพราะยังไม่ใช่เวลาอาหารเที่ยง ร้านจึงเงียบๆ แต่หลังจากนั้นอีก 30 นาที คนมาตรึม

บรรยากาศภายในร้าน ด้านหน้าจะเป็นเคาน์เตอร์ ถ้ามาเดี่ยวจะนั่งบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ก็ได้ 

อันนี้เป็นอีกโซนนึงมีทั้งโต๊ะเล็ก โต๊ะใหญ่ให้เลือกนั่งตามอัธยาศัย
ความหลากหลายของซูชิและเมนูอื่นๆ

รายการอาหารในส่วนที่เป็น A La Carte 

สำหรับการสั่งอาหารของร้านนี้จะต้องสั่งผ่านอุปกรณ์เมนูตามภาพด้านล่างนี้ โดยกดอาหารที่ต้องการและส่งออเดอร์ผ่านเจ้าเครื่องนี้ไปยังเชฟ สักครู่อาหารตามที่สั่งไปก็จะมาเสิร์ฟ งานนี้เน้นดูภาพ ส่วนข้อความก็งมๆ และ งงๆ กันไป


เครื่องดื่มที่สั่งไม่พ้นชาเขียว พนักงานนำมาเสิร์ฟเป็นลำดับแรก 

ชาเขียว เชื่อแล้วว่าเขียวจริง
และแล้วรายการซูชิและอาหารที่สั่งไปก็เริ่มลำเลียงมาสู่โต๊ะของพวกเรา ตามสภาพที่เห็น อะไรเป็นอะไรแทบจำกันไม่ได้ ขอให้ดูภาพกันนะครับ จานแรกประกอบด้วย เทมากิหรือข้าวห่อสาหร่ายแบบกรวย ซูชิกุ้ง ซูชิกั้ง แซลมอน ทุกรายการมองจากมุมบนเราแทบไม่เห็นข้าว เพราะถูกปกคลุมแบบเต็มๆด้วยปลา กุ้ง กั้ง 


ถ่ายเจาะเฉพาะซูชิกั้ง




สลับกันด้วยเมนูสุขภาพกันสักนิด เป็นเต้าหู้ที่อร่อยมาก 





จากนั้นก็สลับมาที่ท้องปลาแซลมอนทอด กรอบนุ่มผสมกันไป 


จัดกันมาอีกชุดสำหรับ เทมากิ



สังเกตจากจานหลังๆ เริ่มมีความแผ่วลง แต่ก็เรื่อยๆมาเรียงๆ




หลังจากจัดไปหลายจาน โดยส่วนตัวในด้านความประทับใจ รู้สึกเฉยๆ (กลางๆ) กับร้านนี้ แต่ก็ไม่ถึงกับแย่ แต่ถ้าอยากจะรับประทานร้านนี้ขอให้ไปร้านอื่นดีกว่า (ผู้เขียนเริ่มสับสน) จากนั้นก็ไปสู่การคิดค่าเสียหายด้วยการนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการสั่งอาหารไปที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์บริเวณหน้าร้าน จากนั้นพนักงานจะแจ้งจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายเป็นเงิน 12,357 เยน (หรือถ้าคิดเป็นเงินไทยก็คือ  3,700 บาท) พร้อมกับส่งมอบใบเสร็จที่แสดงผลงานที่พวกเราได้รับประทานเข้าไปทั้งหมดด้วย

ใบเสร็จของร้าน Kizuna  Sushi